ไขปริศนาปราสาทพนมรุ้ง หลายท่านที่สนใจเรื่องราวของปราสาทพนมรุ้งทราบดีว่าที่นี่มีปรากฏการณ์ Amazing คือดวงอาทิตย์ตรงกับประตู 15 ช่อง ปีละ 4 ครั้ง เป็นตอนเช้า 2 ครั้ง ตอนเย็น 2 ครั้ง จึงขอตั้งประเด็นคำถามว่า ……… ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น? ผู้สร้างมีความจงใจให้เป็นแบบนั้น …… หรือเป็นเพียงความบังเอิญ ? เรื่องราวของปราสาทพนมรุ้งในทางประวัติศาสตร์ และโบราณคดีมีนักวิชาการจำนวนมากเขียนเอกสารไว้เรียบร้อยแล้ว ท่านคงจะหาหนังสือหรือข้อมูลเหล่านั้นไม่ยากนัก ในที่นี้ขอเปิดประเด็นใหม่ในมุมมอง “วิทยาศาสตร์” ให้เป็นอีกหนึ่งทางเลือกของท่านผู้สนใจ ปัจจุบันการศึกษาแบบเชื่อมโยงระหว่างดาราศาสตร์กับโบราณคดีในประเทศไทยยังไม่แพร่หลายนัก แต่ต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา และอังกฤษ มีการศึกษาอย่างละเอียดจนเปิดหลักสูตรระดับปริญญาเอกในมหาวิทยาลัย โดยตั้งชื่อว่า Archaeoastronomy เป็นวิชาใหม่ที่ควบรวมระหว่าง โบราณคดี (Archaeology) + ดาราศาสตร์ (Astronomy) ผมเริ่มมีความคิดในการศึกษาเรื่องนี้ตั้งแต่ปี 2521 เมื่อครั้งอยู่ที่ประเทศอิสราเอล จากนั้นก็เริ่มค้นคว้าสะสมข้อมูลมาอย่างต่อเนื่องทั้งในประเทศและต่างประเทศ ![]() ![]() ![]() | |
จากเอกสารของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยกล่าวว่า ปราสาทพนมรุ้งสร้างขึ้นจากหินทรายสีชมพู ตั้งอยู่บนยอดเขาพนมรุ้ง สูง 1,320 ฟุต ( 396 เมตร) จากระดับน้ำทะเล ที่อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ พิกัดภูมิศาสตร์ N 14 31 54 E 102 56 24 ชื่อพนมรุ้ง เป็นภาษาเขมรแปลว่า ภูเขาใหญ่ เชื่อว่าสร้างขึ้นโดยเจ้านายขอมในท้องถิ่นชื่อ นเรนทราทิตย์ ในราวพุทธศตวรรษที่ 17 (พ.ศ.1601 – 1700) ซึ่งตรงกับช่วงเวลาที่อาณาจักรขอมกำลังรุ่งเรืองอย่างมากตรงกับสมัยพระเจ้าสุริยะวรมันที่ 2 (พ.ศ.1656 – 1693) ผู้สร้างปราสาทนครวัด ปราสาทแห่งนี้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในหมู่ชาวไทยเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่ดวงอาทิตย์ขึ้นตรงกับช่องประตู 15 ช่อง และส่องลำแสงเข้าไปตามทางยาว 75 เมตร กระทบกับศิวะลึงค์ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งตั้งอยู่ตรงกลางทำให้ดูเรือง อร่าม อย่างน่าเกรงขาม การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยจึงถือเอาเรื่องนี้เป็นจุดขายที่สำคัญในการดึงดูดนักท่องเที่ยวโดยจัดงานเดิน ขึ้นเขาพนมรุ้ง ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 ( เมษายน) ของทุกปี ในความเป็นจริงทางดาราศาสตร์ ปรากฏการณ์ที่ดวงอาทิตย์ส่องแสงลอดประตู 15 ช่อง ประกบคู่กับวันเพ็ญ (ขึ้น 15 ค่ำ) ไม่ได้เกิดขึ้นทุกปี เพราะดวงอาทิตย์เป็นปฏิทินสุริยะคติ (365 วัน) ส่วนดวงจันทร์เป็นปฏิทินจันทรคติ (354 วัน) นานๆจะโคจรมาประกบคู่ตรงกันสักครั้ง (ประมาณทุกๆ 11 ปี) ดังนี้ 8 เมษายน 2525 …… 6 เมษายน 2536 …… 4 เมษายน 2547……. ครั้งล่าสุด 4 เมษายน 2558 ………. ครั้งต่อไป 2 เมษายน 2569 …… และ 1 เมษายน 2580 อย่างไรก็ตามจากการค้นเอกสารที่กล่าวถึงประเพณีการเดินขึ้นปราสาทพนมรุ้ง (http://www.prapayneethai.com/ประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง) พบว่าริเริ่มเป็นครั้งแรกโดยท่านเจ้าคุณโอภาสธรรมญาณ วัดท่าประสิทธิ์ จ.สุรินทร์ ในวันเพ็ญ (ขึ้น 15 ค่ำ) เดือน 5 ปี พ.ศ.2485 จึงใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ดาราศาสตร์ทำการ simulation ย้อนหลังไปวันดังกล่าว พบว่าตรงกับปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ Full Moon วันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2485 (ค.ศ.1942) ดวงอาทิตย์ขึ้นตรงกับช่องประตูของปราสาทอย่างพอดีที่มุมกวาด 85.8 องศา เชื่อว่าเป็นที่มาของประเพณีที่นิยมจนถึงปัจจุบัน (อย่างไรก็ตามปฏิทินจันทรคติไทยระบุว่าวันเพ็ญในปีดังกล่าวตรงกับวันที่ 31 มีนาคม) ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ไดอะแกรมแสดงการเคลื่อนที่ถดถอยของวสัตวิษุวัต แสดงให้เห็นว่า Zodiac Aries กับ vernal equinox อยู่ตรงกันในช่วง 2220 BC – 60 BC แต่ปัจจุบัน vernal equinox เปลี่ยนมาตรงกับ Zodiac Pisces ระหว่างช่วง 60 BC – 2100 AD ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() | |
อโรคยาศาล ปราสาทตาเมือนโต๊ด หันหน้า 85 องศา ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() | ![]() |


ไปชมปราสาทพนมรุ้งหลายครั้งเพื่อเก็บข้อมูลทางดาราศาสตร์
.jpg)
ปี 2546 ก็ไปทั้งครอบครัวภรรยาและลูกสาวสองคน

นี่คือประตูหน้าสุดด้านทิศตะวันออก

พื้นประตูด้านทิศตะวันออกมีเส้น center-line ผมจึงใช้เข็มทิศวางทาบเพื่อตรวจสอบตำแหน่งทางดาราศาสตร์
.jpg)
สมัยนั้น 9 November 2004 ยังไม่มี GPS I-Phone จึงต้องใช้เข็มทิศแม่เหล็กไปพลางก่อน แต่ก็พอมองเห็นได้ชัดเจนว่าปราสาทหลังนี้หันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือด้วยมุมกวาด (Azimuth) ราวๆ 85 องศา

วันที่ 4 Nov 2004 (2547) เดินทางกลับมาจากเมือง Siem Reap Cambodia ก็เลยแวะที่ปราสาทพนมรุ้ง

ทิวทัศน์อันสวยงามด้านล่างของปราสาทพนมรุ้ง
.jpg)
.jpg)
วันที่ 31 มกราคม 2559 กลับไปที่ปราสาทพนมรุ้งอีกครั้ง และใช้ GPS จับทิศของตัวปราสาทก็ได้ตัวเลข “มุมกวาด 85 องศา” (Azimuth 85)
สรุป
หลายท่านถามผมว่าทำไมปราสาทหลังนี้ไม่หันหน้าไปที่ตำแหน่ง “วิษุวัต” (Equinox azimuth 90) เหมือนกับปราสาทขอมจำนวนมากที่เมืองหลวง (Angkor ปัจจุบันชื่อเมือง Siem Reap) แต่กลับหันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือเล็กน้อยที่มุมกวาด Azimuth 85 องศา เป็นคำถามที่น่าสนใจครับ คำตอบในทัศนะส่วนตัวของผมคือ
1.ผู้สร้างต้องการที่จะหันหน้าเข้าหาตำแหน่งดวงอาทิตย์ใน “ราศีเมษ” ซึ่งเป็นสเป็กหรือทางเลือกแห่งความเชื่ออีกอย่างหนึ่งของท่านพราหมณ์ (ปุโรหิตา) ในราชสำนัก ทำนองเดียวกันกับปราสาทขอมอีกจำนวนหนึ่ง หรือหันหน้าเข้าหาวันสำคัญดังจารึกว่า “วันเพ็ญเดือนไจตระ และพิธีศารท ในกาลที่พระอาทิตย์คล้อยไปทางทิศเหนือ” อนึ่ง ในความเห็นของผมทั้งสองทฤษฏีมี นัยสำคัญคนละแง่มุม กล่าวคือ
ทฤษฏีแรก ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นเป็นประจำทุกๆปี (ราศีเมษอย่างเดียวไม่มีวันเพ็ญ)
ทฤษฏีที่สอง เกิดขึ้นทุก 11 ปี (มีราศีเมษ + วันเพ็ญ)
2.จากปรากฏการณ์เคลื่อนที่ถดถอยของจักราศี (Precession of vernal equinox) เนื่องจาก “แกนโลกแกว่ง” (Earth’s pole shifted) ทำให้ตำแหน่งดวงอาทิตย์ในวัน “วสันตวิษุวัต” (vernal equinox) ย้ายถอยหลังไปอยู่ใน “ราศีมีน” แทนที่จะเป็น “ราศีเมษ” เหมือนเมื่อสองพันกว่าปีที่แล้ว เรื่องนี้ได้สร้างความกะอักกระอ่วนใจระหว่างความเชื่อในราศีเมษ กับ วันวิษุวัต ทำให้ท่านพราหมณ์จำเป็นต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
3.นักดาราศาสตร์กับนักโหราศาสตร์รู้เรื่องการแกว่งของแกนโลกเป็นอย่างดีครับ แต่ก็ไม่ทะเลาะกันเพราะเข้าตำรา “ทางใคร ทางมัน” ดังนั้นราศีเมษของฝรั่งจึงยังคงอยู่ที่ equinox วันที่ 21 March แต่ราศีเมษของไทย อินเดียตอนใต้ และบังกลาเทศ จึงย้ายไปอยู่วันที่15 April เราๆท่านๆก็เลือกเอาก็แล้วกันครับ แต่ถ้าพระเดชพระคุณท่านต้องการให้ “ราศีเมษ” กลับมาตรงกับตำแหน่งดวงอาทิตย์ในปรากฏการณ์ “วสัตวิษุวัต” ท่านก็ต้องรออีกราวๆ “สองหมื่นกว่าปี” ครับผม
4.จากข้อมูลที่ผมสำรวจตัวอย่างปราสาทขอม 85 แห่ง ในประเทศไทยและประเทศกัมพูชา พบว่า 78% ของปราสาทในกัมพูชาหันหน้าเข้าหา equinox ที่มุมกวาด 90 องศา (azimuth 90) และหันหน้าเข้า “ราศีเมษ” (Aries) 11% แต่ปราสาทในประเทศไทยหันหน้าเข้าหา equinox เพียง 35% และหันหน้าเข้าหา Aries มากถึง 41% ก็แสดงว่าปราสาทขอมในประเทศไทยนิยมสร้างให้ตรงกับ Aries มากกว่า equinox ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ? กำลังพยายามหาเหตุผลมาอธิบาย …….. แต่เท่าที่พอจะนึกได้อาจจะเป็นเพราะพวกเขาออกไปตั้งถิ่นฐานอยู่ห่างไกลจากเมืองหลวงนครอังกอร์ ทำให้ความคิดความอ่านเปลี่ยนไปเฉกเช่นศาสนาต่างๆที่มีการตั้งนิกายใหม่ๆ เป็นไปได้ว่าเจ้านายขอมที่อยู่ห่างไกลเมืองหลวงให้ราคา “ราศีเมษ” หรือ Aries มากกว่า equinox ดังเช่น “วันสงกรานต์” ก็เลื่อนจาก “วิษุวัต” ไปราวกลางเดือนเมษายน