บุรีรัมย์ ร่วมประชุมการบริหารจัดการสถานการณ์อุทกภัยและการให้การช่วยเหลือ ผ่านระบบ Video Conference
(3 ต.ค. 65) เวลา 09.30 น. ที่ ห้องศูนย์ปฏิบัติการจังหวัด ชั้น 2 ศาลากลางจังหวัดบุรีรัมย์ นายธัชกร หัตถาธยากูล ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ ประชุมการบริหารจัดการสถานการณ์อุทกภัยและการให้การช่วยเหลือ ผ่านระบบวิดีโอ (Video Conference) จาก ห้องประชุมราชสีห์ กระทรวงมหาดไทย โดยมี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุม พร้อมด้วย พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ผู้บัญชาการป้องกันบรรเทาสาธารณภัย รองผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ หัวหน้าส่วนราชการ และเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม
ทั้งนี้ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ได้ ทราบถึงสถานการณ์อุทกภัย จาก กลุ่มบริหารจัดการน้ำ ภายใต้ศูนย์บรรเทาภัยพิบัติแห่งชาติ รัฐบาลมีความห่วงใย พี่น้องประชาชน ทราบว่าประชาชนได้รับความเดือดร้อน รัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจ ต้องขอบคุณ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ที่ลงพื้นที่เยี่ยมตรวจและให้กำลังใจประชาชน ทั้งนี้การบริหารจัดการน้ำ การคาดการณ์ รัฐบาลได้มีการเตรียมแผน เตรียมความพร้อม และมีกำหนดการจะลงพื้นที่เพื่อให้กำลังใจ พี่น้องประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย
ทั้งนี้จังหวัดบุรีรัมย์ มีพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากพายุโนรู จำนวน 11 อำเภอ 1 ทต. 31 ตำบล 114 หมู่บ้าน
ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์อุทักภัยได้เผ้าระวังและติดตามสถานการณ์ พร้อมเตรียมความพร้อมและการสนับสนุนเครื่องจักรกลสาธารณภัย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกระดับ เตรียมกำลังพล เครื่องมือ อุปกรณ์ พร้อมเผชิญเหตุตลอด 24 ชั่วโมง โดยดำเนินการ ดังนี้ ลอกท่อระบายน้ำ และกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ ติดตั้งเครื่องสูบน้ำประจำจุดเสี่ยงในเขตเทศบาล และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ติดตั้งป้ายแจ้งเตือน ป้ายแนะนำเส้นทางเลี่ยงกรณีน้ำท่วมผิวการจราจร
– แจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยริมน้ำที่ได้รับผลกระทบจากการระบายน้ำออกจากอ่างเก็บน้ำ และจากฝนตกหนัก และมีรายงานการนำเครื่องจักรกลสาธารณภัยที่ให้ความช่วยเหลือดังนี้
1) เครื่องสูบน้ำ 10 นิ้ว 1 เครื่อง รถบรรทุกเครื่องสูบน้ำ 2 คัน (อบจ.บร.)
2) เครื่องสูบน้ำ 8 นิ้ว 2 เครื่อง รถบรรทุกเครื่องสูบน้ำ 2 คัน (ชป.บร.)
3) เรือท้องแบน 2 ลำ (มทบ.26)
4) เรือท้องแบน 2 ลำ (สนง.ปภ.จ.บร.)
5) เครื่องสูบน้ำ 14 นิ้ว 2 เครื่อง รถเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัย 1 คัน (ศูนย์.ปภ.เขต5 นคราชสีมา)
6) เครื่องสูบน้ำขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่
7) เรือท้องแบนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่
สำหรับสถานการณ์น้ำในอ่าง โครงการชลประทานบุรีรัมย์ (ข้อมูล ณ วันที่ 2 ตุลาคม 2565) มีอ่างเก็บน้ำที่จะต้องเฝ้าระวัง (ปริมาณน้ำเกินกว่าระดับกักเก็บ) อยู่จำนวน 10 อ่าง จาก ทั้งหมด 16 อ่าง มีสถานีน้ำท่าที่ต้องเฝ้าระวัง ทั้ง 3 สถานี ในเขตพื้นที่อำเภอลำปลายมาศ อำเภอคูเมือง และอำเภอสตึก ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ หากเกิดสถานการณ์น้ำท่วมบ้านเรือน ได้เตรียมความพร้อมจัดตั้งศูนย์พักพิงชั่วคราวไว้ในพื้นที่ดังกล่าวแล้ว อย่างไรก็ตาม ขอให้ประชาชนเฝ้าระวัง เก็บสิ่งของเคลื่อนย้ายขึ้นสู่ที่สูง พร้อมรับฟังการพยากรณ์อากาศอย่างใกล้ชิด
#buriramworld #บุรีรัมย์ #buriram #บอกข่าวชาวบุรีรัมย์
โดย BURIRAM WORLD : มหานครอีสานใต้ เซราะกราวออนไลน์ 24 ชม.
2022-10-03T15:44:45+0000