วันศุกร์, พฤศจิกายน 8, 2024

งานประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้งติด 1 ใน 6 งานเพณีที่ยิ่งใหญ่อลังการในอีสาน

Must Read

- Advertisement -

ภาคตะวันออกเฉียงใต้ หรือ ภาคอีสาน เป็นแหล่งรวมอารยธรรมอันหลากหลาย จากความเชื่อที่สืบทอดต่อกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ว่าแต่ทางภาคอีสานจะมีเทศกาลไหน ที่ครั้งหนึ่งคุณต้องไปให้ได้สักครั้ง ไปดูกัน!

- Advertisement -

1. งานประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์

- Advertisement -

ช่วงเวลา เดือนเมษายนทุกปี (วันเพ็ญเดือนห้า)
ประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง เริ่มขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๑ โดยความคิดริเริ่มของท่านเจ้าคุณโอภาสธรรมญาณ จากวัดท่าประสิทธิ์ จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งเดินทางมาเพื่อปฏิบัติธรรมวิปัสสนากรรมฐานที่เขาพนมรุ้ง ซึ่งขณะนั้นยังไม่มีทางขึ้นสู่ตัวปราสาท ผู้ที่สนใจอยากขึ้นชมปราสาทต่างคนต่างขึ้นมาเองโดยไม่กำหนดเวลาประกอบกับจังหวัดสุรินทร์มีประเพณีขึ้นเขาสวายในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๕ ของทุกๆ ปี ท่านเจ้าคุณโอภาสธรรมญาณเห็นว่าประเพณีขึ้นเขาเป็นสิ่งดี เพื่อให้ประชาชนได้ร่วมกันทำบุญพบปะสังสรรค์ สร้างความสามัคคีและมีโอกาสได้พักผ่อนหย่อนใจอีกด้วย จึงริเริ่มให้จัดงานประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้งเป็นครั้งแรกในวันเพ็ญเดือน ๕ ปี พ.ศ. ๒๔๘๕ และประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้งก็ได้ปฏิบัติสืบต่อกันมาจนกระทั่ง
ปัจจุบันเป็นที่น่าสังเกตว่าในช่วงงานประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้งทุกปีจะมีปรากฏการณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี คือในช่วงเวลานั้นเราจะมองเห็นดวงอาทิตย์ขึ้นตรงตามความยาวของปราสาทเราสามารถมองลอดประตูทางด้านทิศตะวันตกฝ่ากรอบประตูต่างๆ กว่า ๑๐ กรอบ ทะลุผ่านประตูปรางค์ประธาน และทะลุออกซุ้มประตูหน้า ความยาว ๘๘ เมตร มองเห็นดวงอาทิตย์ขึ้นตรงกรอบประตูพอดี

- Advertisement -

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานบุรีรัมย์ (ททท.สำนักงานบุรีรัมย์) ที่อยู่ : 674/15-16 โครงการบุญศิริ 7 ตำบลอิสาณ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ 31000 โทรศัพท์044 634 722

ททท. สำนักงานบุรีรัมย์
ททท. สำนักงานบุรีรัมย์
ททท. สำนักงานบุรีรัมย์
ททท. สำนักงานบุรีรัมย์
https://www.nationtv.tv/main/content/378779704
https://www.nationtv.tv/main/content/378779704
https://www.nationtv.tv/main/content/378779704

2. ประเพณีแห่เทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี

 ประเพณีแห่เทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี  เป็นภาพสะท้อนที่ชัดเจนของการพัฒนาบนพื้นฐานของทุนทางวัฒนธรรม และเป็นโครงการที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศด้านการท่องเที่ยวให้เข้มแข็ง  มีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัดที่มุ่งเน้นการท่องเที่ยว ประชาชนมีรายได้ กลยุทธ์การส่งเสริมศาสนาและวัฒนธรรม ยุทธศาสตร์ส่งเสริมการค้าการลงทุน สนับสนุนงานวัฒนธรรมประเพณี ให้มีความยิ่งใหญ่ในระดับชาติ และระดับสากล ประเพณีแห่เทียนพรรษาของจังหวัดอุบลราชธานี มีความเป็นมาที่ยาวนานราวหนึ่งศตวรรษมาแล้ว ซึ่งเรียกได้ว่าเทียนพรรษาและงานแห่เทียนพรรษาเป็นสัญลักษณ์( Symbol ) ที่ผูกพันกับชีวิตวัฒนธรรม ( Bio-Cultral ) ของชาวจังหวัดอุบลราชธานี บนพื้นฐานความเชื่อที่มาจากหลักแนวคิดของพระพุทธศาสนา   โดยวัฒนธรรมทำหน้าที่เป็นเครื่องหมาย หรือสัญลักษณ์ ที่แสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตของคนอีสาน และสัญลักษณ์ที่ส่งผลต่อคุณค่าทางจิตใจ เพราะเทียนไม่เพียงแต่ให้แสงสว่าง แต่ยังเป็นสัญลักษณ์ของความสว่างไสว ความเจริญรุ่งเรือง นอกจากนี้วัฒนธรรมยังมีหน้าที่ในการตอบสนองความต้องการด้านต่าง ๆ  ซึ่งประเพณีแห่เทียนพรรษาในบทบาทของวัฒนธรรมก็เป็นสิ่ง ๆ หนึ่ง ที่กลุ่มคนในสังคมคิดขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการทั่งด้านจิตใจ และสัญลักษณ์แทนความเชื่อในทางพระพุทธศาสนา และยังมีหน้าที่ในการสร้างความสามัคคีของคนในชุมชน  เสริมสร้างความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในการจัดงานประเพณีแห่เทียน

          เหตุที่ประเพณีแห่เทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี  มีความเลิศล้ำเลอค่า  มายาวนานเหนือจังหวัดอื่นใดนั้น  เนื่องด้วยอุบลราชธานีเป็นเมืองแห่งพุทธศาสนาที่มีวัดมากที่สุดในประเทศไทย  มีพระสงฆ์ชั้นสมเด็จถึง 4 องค์ และมีพระอริยสงฆ์ที่มีชื่อเสียงทั้งในสายคันถธุระ และสายวิปัสสนากรรมฐาน ชาวอุบลราชธานีเป็นผู้มีใจเป็นกุศล ใฝ่ธรรม และมีความเชื่อว่าการถวายเทียนพรรษาเป็นผลให้บังเกิดความเฉลียวฉลาด มีปัญญาเฉียบแหลม กอรปกับอุบลราชธานีตั้งเมืองที่ ดงอู่ผึ้ง ซึ่งมีแหล่งทรัพยากรสำคัญในการทำเทียนพรรษา คือ รวงผึ้งที่อุดมสมบูรณ์ สำนักพระราชวังได้นำขี้ผึ้งจากจังหวัดอุบลราชธานีไปทำเทียนพระราชทาน นอกจากนี้ ชาวอุบลราชธานีให้ความใส่ใจและพิถีพิถันในการถวายสิ่งใด ๆ แด่พระรัตนตรัย จะต้องมีความสวย งดงามเป็นพิเศษ เพราะถือว่าเป็นการขัดเกลาจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์ผ่องใส ดังผญาสุภาษิตโบราณที่ว่า “แนวได๋ถวาย(ถวย)เจ้าหัว ต้องให้งาม เฮาสิได้งามนำเผิ่น” หมายความว่า สิ่งใดที่ถวายให้พระสงฆ์ ต้องเป็นสิ่งที่งามที่สุด จะได้งามทั้งกายและใจและประการสำคัญ คือ อุบลราชธานี มีช่างฝีมือด้านศิลปะมากมาย ทำให้สามารถสร้างสรรค์ผลงานออกมาได้อย่างวิจิตรบรรจง

          รูปแบบการจัดงานประเพณีแห่เทียนพรรษา จังหวัดอุบลราชธานี มีความยิ่งใหญ่มากขึ้น ทำให้มีนักท่องเที่ยวเข้ามาในช่วงเทศกาลเป็นจำนวนมากมายมหาศาล ส่งผลให้เศรษฐกิจของจังหวัดดีขึ้นกิจกรรมหลักในงาน คือ การประกวดขบวนแห่ การประกวดนางฟ้าประจำต้นเทียน และการประกวดต้นเทียน มีการกำหนดเกณฑ์และวิธีการให้คะแนนในการประกวดที่รัดกุมและเหมาะสม กำหนดระยะเวลาในการจัดงาน 3 วัน วันแรกเป็นวันขึ้น 14 – 15 ค่ำ และแรม 1 ค่ำ เดือน 8 เปิดงาน วันที่สองรวมต้นเทียน ประกวดต้นเทียน และประกวดนางฟ้าประจำต้นเทียน ในช่วงเวลากลางคืน และวันที่ 3 เป็นพิธีแห่เทียนพรรษาและประกวดขบวนแห่ ในการจัดงานที่ผ่านมาแต่ละครั้ง จังหวัดอุบลราชธานีได้พิจารณารูปแบบการจัดงานให้มีความสอดคล้องกับงานพิธีสำคัญของจังหวัด และของชาติ เพื่อให้เหมาะสมและเป็นการแสดงออกซึ่งความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : ททท.สำนักงานอุบลราชธานี ที่อยู่ : 264/1 ถนนเขื่อนธานี ตำบลในเมือง อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี 34000 โทรศัพท์045 243 770

travel.mthai.com
travel.mthai.com
travel.mthai.com
travel.mthai.com

3.งานประเพณีบุญบั้งไฟ จังหวัดยโสธร

ประเพณี บุญบั้งไฟ เป็นประเพณีสำคัญของภาคอีสานบ้านเราที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยโบราณค่ะ ถือเป็นหนึ่งในฮีตสิบสองเดือนของชาวอีสานที่ทำกันในเดือน 6 ช่วงเข้าสู่ฤดูฝนซึ่งเป็นฤดูทำนา จะมีการจุดบั้งไฟเพื่อบูชาเทพยดา และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย หรือที่ชาวอีสานเรียกกันว่า พญาแถน หรือ เทพวัสสกาลเทพบุตร ซึ่ง มีความเชื่อว่า พระยาแถนมีหน้าที่คอยดูแลให้ฝนตกถูกต้องตามฤดูกาล และทำให้พืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์นั่นเอง

ประเพณีบุญบั้งไฟ จังหวัดยโสธร จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในวันเสาร์และอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนพฤษภาคม เป็นประเพณที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อในเรื่องการขอฝนด้วยการทำบั้งไฟจุดขึ้นไปบนฟ้าเพื่อขอฝนจากพญาแถน ก่อนถึงฤดูทำไร่ทำนา ความเชื่อของ ประเพณีบุญบั้งไฟ ปรากฏอยู่ใน ตำนานเรื่องพญาคันคากและเรื่องผาแดงนางไอ่ มีการกล่าวถึงการจุดบั้งไฟเพื่อบูชาพญาแถน โดยเฉพาะในเรื่องพญาคันคาก ซึ่งตำนานนั้นมีอยู่ว่า…

พญาคันคาก เป็นพระโพธิสัตว์ เสวยชาติเป็นโอรสของกษัตริย์ เหตุที่ได้ชื่อว่า “พญาคันคาก” เป็นเพราะเมื่อครั้งประสูติมีรูปร่างผิวพรรณเหมือนคางคก หรือที่ชาวอีสานเรียกกันว่า คันคาก และถึงแม้พระองค์จะมีรูปร่างอัปลักษณ์ แต่พระอินทร์ก็คอยช่วยเหลือ จนพญาคันคากเป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้าน จนลืมที่จะเซ่นบูชาพญาแถน พญาแถนจึงโกรธ ไม่ยอมปล่อยน้ำฝนให้ตกลงมายังโลกมนุษย์

จึงเกิดศึกการต่อสู้ระหว่างพญาคันคากและพญาแถนขึ้น โดยพญาคันคากได้นำทัพสัตว์ต่างๆ ขึ้นไปรบ จนได้รับชัยชนะ พญาแถนจึงปล่อยให้ฝนตกลงมาเช่นเดิม แต่มีข้อแม้ว่าจะต้องจุดบั้งไฟขึ้นไปบูชาเป็นประจำทุกปี จึงเป็นที่มาว่า ชาวอีสานจึงทำบั้งไฟจุดขึ้นบนฟ้าถวายพญาแถน เพื่อฝนจะได้ตกต้องตามฤดูกาลนั่นเอง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : ททท.สำนักงานอุบลราชธานี ที่อยู่ : 264/1 ถนนเขื่อนธานี ตำบลในเมือง อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี 34000 โทรศัพท์045 243 770

travel.mthai.com
travel.mthai.com
travel.mthai.com
travel.mthai.com
travel.mthai.com

4. งานประเพณีไหลเรือไฟ จังหวัดนครพนม

งานประเพณีไหลเรือไฟ (เฮือไฟ) จัดขึ้นในวันออกพรรษา คือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 การไหลเรือไฟถือเป็นการบูชาพระพุทธเจ้า ในวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จมาจากเทวโลก หลังจากที่พระพุทธองค์ได้เสด็จขึ้นไปจําพรรษาที่ดาวดึงษ์ เพื่อแสดงพระธรรมเทศนาโปรดพระพุทธมารดา เมื่อออกพรรษาแล้วพระพุทธเจ้าก็เสด็จลงมาสู่มนุษย์โลก โดยบันไดทิพย์ทั้ง 3 วันนี้เรียกว่า วันพระเจ้าโปรดโลก พระองค์เสด็จมา ณ เมืองสังกัสสะ สถานที่นั้นเรียกว่า ” อจลเจดีย์ ” (อ่านว่า อะ-จะ-ละ-เจ-ดี) ทวยเทพทั้งหลายส่งเสด็จ มวลมนุษย์ทั้งหลายรับเสด็จ ด้วยเครื่องสักการะบูชามโหฬาร การไหลเรือไฟ ก็คือการสักการะบูชาอย่างหนี่งในวันนั้นและได้ทําเป็นประเพณีสืบทอดกันมาจน ถึงทุกวันนี้
นอกจากนี้ยังมีตํานานการไหลเรือไฟที่แตกต่างกันก็ ถือว่าทําให้ได้รับอานิสงฆ์เหมือนกัน เดิมเรือไฟทําด้วยท่อนกล้วยหรือไม้ไผ่ต่อเป็นลําเรือ ยาวประมาณ 5-6 วา ข้างในบรรจุไว้ด้วยขนม ข้าวต้มมัด หรือสิ่งของที่ต้องการจะบริจาคทาน ข้างนอกเรือมีดอกไม้ ธูป เทียน ตะเกียง ขี้ไต สําหรับจุดให้สว่างไสว ก่อนจะปล่อยเรือไฟ ปัจจุบันมีการจัดทําเรือไฟเป็นรูปแบบต่างๆที่ขนาดใหญ่โตขึ้นมีวิธีการประดับ ตกแต่งให้วิจิตรตระการตามากยิ่งขึ้น เมื่อปล่อยเรือไฟเหล่านี้ลงกลางลําน้ำโขงภายหลังการจุดไฟให้ลุกโชติช่วงจะ เป็นภาพที่งดงาม ติดตาติดใจผู้พบเห็นไปตราบนานเท่านานไม่มีที่ไหนๆในประเทศไทยจะยิ่งใหญ่ เหมือนที่จังหวัดนครพนม
การแข่งเรือ (ส่วงเฮือ) เป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาช้านาน โดยจัดขึ้นระหวางงานบุญออกพรรษา มีความมุ่งหมายให้ชาวบ้านได้สนุกสนานร่วมกัน ก่อให้เกิดความสามัคคีความเสียสละและเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่าง ประชาชนชาวลาว และชาวไทย จัดขึ้นในลําน้ำโขง มีระยะทางแข่งขัน 3 กิโลเมตร มีร่องน้ำที่ไหลเชี่ยวยากลําบากมากในการแข่งขัน ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าผู้ชนะคือผู้เก่งที่สุดในแถบลุ่มน้ำโขง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเตฺิม : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานนครพนม ที่อยู่ : ถนน สุนทรวิจิตร ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม 48000 โทรศัพท์042 513 490

@เบิ่งนครพนมTAT Contact Center เพื่อนร่วมทาง
@เบิ่งนครพนมTAT Contact Center เพื่อนร่วมทาง
@เบิ่งนครพนมTAT Contact Center เพื่อนร่วมทาง
@เบิ่งนครพนมTAT Contact Center เพื่อนร่วมทาง
@เบิ่งนครพนมTAT Contact Center เพื่อนร่วมทาง
@เบิ่งนครพนมTAT Contact Center เพื่อนร่วมทาง

5. งานประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง จังหวัดสกลนคร

ประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง จัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่เป็นประจำทุกปีในช่วงเทศกาลวันออกพรรษาและถือปฏิบัติสืบทอดกันมานาน จนกลายเป็นประเพณีประจำจังหวัดสกลนคร จากความเชื่อความศรัทธาผสานกับภูมิปัญญาของชาวสกลนคร สร้างสรรค์ความวิจิตรงดงามของปราสาทผึ้งได้อย่างตระการตา

การประดิษฐ์ปราสาทผึ้งของชาวสกลนครนั้น สร้างสรรค์อิงตามพุทธประวัติครั้งพระพุทธเจ้าทรงเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ในวันปวารณาออกพรรษา พระพุทธเจ้าตรัสอำลาพระอินทร์ เพื่อเสด็จลงสู่เมืองมนุษย์ พระอินทร์จึงเนรมิตบันไดเงิน บันไดทอง และบันไดแก้วมณีให้พระองค์ได้เสด็จลงมา เทวดา มนุษย์ ครุฑ นาค สัตว์นคร ต่างชื่นชมในพระบารมีของพระพุทธองค์และเกิดความเลื่อมใสในบุญกุศลนั้น และเกิดจินตนาการมองเห็นปราสาทวิมานสวยงามบนสรวงสวรรค์ จึงรู้ชัดว่าการที่จะได้ไปอยู่ในปราสาทสวยงามได้นั้น จะต้องสร้างบุญสร้างกุศล ประพฤติปฏิบัติอยู่ในหลักธรรม

จากความเชื่อนี้เอง จึงเกิดการคิดสร้างสรรค์ประดิษฐ์ปราสาทให้มีลักษณะคล้ายปราสาทราชมณเฑียรบนสวรรค์ชั้นวิมาน นอกจากนั้นการประดิษฐ์ปราสาทผึ้งยังมีความเชื่อว่าเป็นการอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษที่ผู้ที่ล่วงลับและร่วมกันทำบุญอุทิศส่วนกุศลร่วมกันในช่วงเทศกาลออกพรรษาอีกด้วย

การประดิษฐ์ปราสาทผึ้งของชาวสกลนคร แต่เดิมเป็นการประดิษฐ์ปราสาทผึ้งแบบโบราณ หรือเรียกว่า “ต้นผึ้ง” โดยการเอากาบของต้นกล้วยมาทำเป็นโครง แกะสลักเป็นลวดลายต่างๆ แล้วตกแต่งด้วยดอกผึ้งได้อย่างงดงาม ซึ่งต่อมามีการพัฒนาและประยุกต์ ผสมผสานการแกะสลักดอกผึ้งและประติมากรรมบนแผ่นเทียน ทำให้เกิดเป็นปราสาทผึ้งแบบประยุกต์ที่มีขนาดใหญ่งดงามด้วยลวดลายอย่างวิจิตรบรรจงและมีเรื่องราวที่เกิดจากความร่วมแรงและร่วมใจของชุมชนต่างๆ ในเมืองสกลนคร และยังคงอนุรักษ์ทั้งการประดิษฐ์ปราสาทผึ้งโบราณและการประดิษฐ์ปราสาทผึ้งประยุกต์

สอบถามข้อมูลเพิ่มเตฺิม : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานนครพนม ที่อยู่ : ถนน สุนทรวิจิตร ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม 48000 โทรศัพท์042 513 490

การท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสกลนครsakonnakhon.mots.go.thเฟซบุ๊ก Sakonnakhon Sakonpao
การท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสกลนครsakonnakhon.mots.go.thเฟซบุ๊ก Sakonnakhon Sakonpao
การท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสกลนครsakonnakhon.mots.go.thเฟซบุ๊ก Sakonnakhon Sakonpao

6. งานประเพณีแห่ผีตาโขน จังหวัดเลย

ประเพณีแห่ผีตาโขนจัดเป็นส่วนหนึ่งในงานบุญประเพณีใหญ่หรือที่เรียกว่า “งานบุญหลวง” หรือ “บุญผะเหวด” ซึ่งตรงกับเดือน 7 มีขึ้นที่อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย และจัดเป็นการละเล่นที่ถือเป็นประเพณีทุกปี เกี่ยวโยงกับงานบุญพระเวสหรือเทศน์ มหาชาติ ประจำปีกับพระธาตุศรีสองรัก ปูชนียสถานสำคัญของชาวด่านซ้าย เป็นอีกหนึ่งประเพณีที่มีชื่อเสียงและขึ้นชื่อของจังหวัดเลย โดยมีกระบวนแห่ผีตาโขนโดยแต่งกายคล้ายผีและปีศาจใส่หน้ากากขนาดใหญ่ที่เป็นเอกลักษณ์มีลวดลายที่งดงามแตกต่างกันไป แสดงการละเล่นเต้นรำกันอย่างสนุกสนานในขบวนแห่งที่แห่ยาวไปตามท้องถนน 

กล่าวกันว่า การแห่ผีตาโขนเกิดขึ้นเมื่อครั้งที่พระเวสสันดรและนางมัทรีจะเดินทางออกจากป่ากลับสู่เมือง บรรดา ผีป่าหลายตน และสัตว์นานาชนิดอาลัยรักจึงพาแห่แหนแฝงตัวแฝงตน มากับชาวบ้านเพื่อมาส่งทั้งสอง พระองค์ กลับ เมือง “ผีตามคน” หรือ “ผีตาขน” จนกลายมาเป็น “ผีตาโขน” อย่างในปัจจุบัน

ชนิดของผีตาโขน
ผีตาโขน ในขบวนแห่จะแยกเป็น 2 ชนิดคือ ผีตาโขนใหญ่และผีตาโขนเล็ก
– ผีตาโขนใหญ่ ทำเป็นหุ่นรูปผีทำจากไม้ไผ่สานมีขนาดใหญ่กว่าคนธรรมดาประมาณ 2 เท่าประดับตกแต่งรูปร่าง

– ผีตาโขนเล็ก ผีตาโขนเล็กเป็นการละเล่นของเด็ก ไม่ว่าเด็กเล็ก เด็กวัยรุ่นหรือผู้ใหญ่ ทั้งผู้หญิงชาย มีสิทธิ์ทำ และเข้าร่วมสนุก ได้ทุกคน แต่ผู้หญิงไม่ค่อยเข้าร่วมเพราะเป็นการเล่นค่อนข้างผาดโผนและซุกซน

การแต่งกายผีตาโขน
ผู้เข้าร่วมในพิธีนี้จะแต่งกายคล้ายผีและปีศาจใส่หน้ากากขนาดใหญ่ ทำจากกาบมะพร้าวแกะสลักและสวมศีรษะด้วย

การละเล่นผีตาโขน
เนื่องจากงานประเพณีผีตาโขนเป็นงานบุญใหญ่ซึ่งเรียกกันว่างานบุญหลวง จัดขึ้นที่วัดโพนชัย อ.ด่านซ้าย โดยมี การละเล่นผีตาโขน มีการเทศน์มหาชาติมีการทำบุญพระธาตุศรีสองรักและงานบุญต่างๆเข้ามาผสมอยู่รวมๆกัน จึงมีการจัดงานกัน 3 วัน

– วันแรก เริ่มพิธีตอนเช้า 04.00-05.00 น. คณะแสนหรือข้าทาสบริวารของเจ้าพ่อกวนจะนำอุปกรณ์ มีด ดาบ หอก ฉัตร พานดอกไม้ ธูปเทียน ขันห้าขันแปด(พานดอกไม้ 5 คู่ หรือ 8 คู่) ถือเดินนำขบวนไปที่ริมแม่น้ำหมัน เพื่อนิมนต์พระอุปคุตต์ พระผู้มีฤทธานุภาพมาก และมักเนรมิตกายอยู่ในมหาสมุทร เพื่อป้องกันภัยอันตราย และให้ เกิดความสุข สวัสดี เมื่อถึงแล้วผู้อันเชิญต้องกล่าวพระคาถา และให้อีกคนลงไปในน้ำงมก้อนหินใต้น้ำขึ้นมาถาม ว่า “ใช่พระอุปคุตต์หรือไม่” ผู้ที่ยืนอยู่บนฝั่งตอบว่า “ไม่ใช่” พอก้อนหินก้อนที่ 3 ให้ตอบว่า “ใช่ นั่นแหละ พระอุปคุตต์ที่แท้จริง” เมื่อได้พระอุปคุตต์มาแล้ว ก็นำใส่พานแล้วนำขบวนกลับที่หอพระอุปคุตต์ ทำการ ทักขิณาวัฏ 3 รอบ มีการยิงปืนและจุดประทัดซึ่งช่วงเวลานั้นบรรดาผีตาโขนที่นอนหลับหรือ อยู่ตามที่ต่างๆก็จะมาร่วมขบวนด้วย ความยินดีปรีดา เต้นรำ เข้าจังหวะกับเสียงหมากกระแร่ง ซึ่งเป็นกระดิ่งผูกคอวัวหรือกระดิ่งให้เสียงดัง
– วันที่สอง เป็นพิธีแห่พระเวส ในขบวนประกอบด้วย พระพุทธรูป 1 องค์ พระสงฆ์ 4 รูป นั่งบนแคร่หามตามด้วย เจ้าพ่อกวนนั่งอยู่บน กระบอกบั้งไฟ ท้ายขบวนเป็นเจ้าแม่นางเทียม กับบริวาร ชาวบ้าน และเหล่าผีตาโขน เดินตามเสด็จไปรอบ เมือง ก่อนตะวันตกดิน สำหรับคนที่เล่นเป็นผีตาโขนใหญ่ ต้องถอดเครื่องแต่งกายผีตาโขนใหญ่ออก ให้หมดและนำไปทิ้งในแม่น้ำหมัน ห้ามนำเข้าบ้าน เป็นการทิ้งความทุกข์ยากและสิ่งเลวร้ายไป รอจนปีหน้าฟ้าใหม่ แล้วค่อยทำเล่นกันใหม่
– วันที่สาม เป็นการรวมเอางานบุญประเพณีประจำเดือนต่างๆของปีมารวมกันจัดในงานบุญหลวง ประชาชนจะมานั่งฟังเทศน์ มหาชาติ 13 กัณฑ์ ที่วัดโพนชัยเพื่อเป็นการสร้างกุศลและเป็นมงคลแก่ชีวิตแก่ชีวิต

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : ททท. สำนักงานเลย ที่อยู่ : ถนนเจริญรัฐ ตำบลกุดป่อง อำเภอเมือง จังหวัดเลย 42000 โทรศัพท์042 812 812

เฟซบุ๊ก TAT Loei Officeเฟซบุ๊ก Thailand Festival
เฟซบุ๊ก TAT Loei Officeเฟซบุ๊ก Thailand Festival
- Advertisement -
- Advertisement -
- Advertisement -

Latest News

ทีมไหนใช่กว่า!? หาก “ชนา” ลาเจลีก 3 บิ๊กไทยลีก ดีพอรอคว้าตัว – Ballthai.com

ทีมไหนใช่กว่า!? หาก "ชนา" ลาเจลีก 3 บิ๊กไทยลีก ดีพอรอคว้าตัว - Ballthai.com บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด. บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด. สโมสรอันดับ 1 ของไทย ที่การแข่งขันในทีมค่อนข้างสูงเลยทีเดียว แต่การจากไปของ ศุภณัฏฐ์ ......
- Advertisement -

More Articles Like This

- Advertisement -