วิทยาลัยครู
มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ได้เริ่มก่อตั้งเป็น “วิทยาลัยครูบุรีรัมย์” ด้วยความต้องการของทางราชการและประชาชนชาวจังหวัดบุรีรัมย์ นำโดยผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ (นายสุรวุฒิ บุญญานุสาสน์) และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจังหวัดบุรีรัมย์ ทั้งนี้เพื่อสนองความต้องการของประเทศที่กำลังขาดแคลนครูอย่างหนัก จึงต้องเร่งรัดการผลิตครูให้เพียงพอแก่ความต้องการ วิทยาลัยครูได้เริ่มก่อตั้งเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2514 โดยได้รับงบประมาณ (ปีงบประมาณ 2515) จานวน 9 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างอาคารเรียน 1 หลัง ตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานด้านถนน ไฟฟ้า และประปา เป็นต้น
การก่อสร้างได้เริ่มขึ้นเมื่อ 6 ตุลาคม 2514
คณะผู้ร่วมดำเนินการระยะแรกคือ อาจารย์วิชชา อัตศาสตร์ (ต่อมาได้เป็นอาจารย์ใหญ่ ผู้อำนวยการ และเป็นอธิการคนแรกของวิทยาลัยครูบุรีรัมย์) อาจารย์ ดร.พล คาปังค์ อาจารย์ณรงค์ วิชาเทพ และ อาจารย์เจนวิทย์ ผาสุก วิทยาลัยครูบุรีรัมย์ ได้เปิดรับนักศึกษาครั้งแรกในปีการศึกษา 2515 โดยเปิดสอนนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา (ป.กศ.) และในปีการศึกษา 2516 วิทยาลัยได้เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง(ป.กศ.ชั้นสูง) ทั้งภาคปกติและภาคคำ่
ปี พ.ศ. 2519 วิทยาลัยครูบุรีรัมย์ ได้รับการยกฐานะให้เป็นวิทยาลัยครู
ตามพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ. 2518 ซึ่งเป็นผลให้เปลี่ยนชื่อตำแหน่งผู้บริหารสูงสุดเป็น “อธิการ” เปลี่ยนรูปแบบองค์กรทางวิชาการจากหมวดวิชาเป็นคณะวิชา ภาควิชา และสำนักงานอธิการ มีการเปิดสอนตามหลักสูตรใหม่ของสภาการฝึกหัดครู ซึ่งเปลี่ยนระบบ 3 ภาคเรียน มาเป็น 2 ภาคเรียน
ปีการศึกษา 2521 วิทยาลัยครูบุรีรัมย์ ได้เปิดสอนระดับปริญญาตรี 2 ปีหลัง (ค.บ.) เป็นรุ่นแรก
โดยเปิดสอนภาคปกติ 6 วิชาเอก คือ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย พลศึกษา สังคมศึกษา ศิลปศึกษาและวิทยาศาสตร์ทั่วไป และได้เปิดระดับปริญญาตรี 2 ปีหลัง ให้กับครูประจาการในวันเสาร์และวันอาทิตย์ (ในภาคเรียนที่ 2) ปีการศึกษา 2521 ด้วยโดยเรียกว่า “โครงการอบรมครูประจำการ” (อคป.) ในปีการศึกษาต่อมา ได้เปิดศูนย์ให้การศึกษาสาหรับครูประจำการที่โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย จังหวัดร้อยเอ็ด
ปีการศึกษา 2524 วิทยาลัยครูบุรีรัมย์ ได้เปิดหลักสูตรครุศาสตร์บัณฑิต (ค.บ.) 4 ปี เป็นครั้งแรก
วิชาเอกที่เปิดคือ ภาษาไทยและวิทยาศาสตร์ทั่วไปเปิดสอนหลักสูตรใหม่ในระดับ ป.กศ. ชั้นสูงอีก 3 วิชาเอก คือบรรณารักษศาสตร์ พัฒนาชุมชน และสหกรณ์ พร้อมกับงดรับนักศึกษาในระดับ ป.กศ.
ปีการศึกษา 2527 มีการขยายฐานการศึกษาไปเป็น “เทคนิคการอาชีพ”
ได้เปิดสอนเทคนิคการอาชีพระดับ ป.กศ. ชั้นสูง หลายสาขาคือ การอาหาร ก่อสร้าง กสิกรรม ศิลปกรรม เป็นต้น
ปี พ.ศ. 2527 ได้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ. 2518 ซึ่ง พ.ร.บ. ใหม่นี้ ทำให้วิทยาลัยครูสามารถเปิดสอนวิชาเอกอื่นนอกจากสายครุศาสตร์ได้ ทั้งในระดับอนุปริญญา และปริญญาตรีในหลายสาขาวิชา เช่น สัตวบาล เศรษฐศาสตร์สหกรณ์ พัฒนาชุมชน เป็นต้น และเมื่อผู้เรียนจบการศึกษาในระดับปริญญาตรี จะได้รับปริญญาใน 3 หลักสูตร คือ ครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.) ศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) และวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)
สถาบันราชภัฏบุรีรัมย์
วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานนาม “สถาบันราชภัฏ” แก่วิทยาลัยครูทั่วประเทศ และทรงมีพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญตราพระราชลัญจกรมาเป็นตราของสถาบัน
ปี พ.ศ. 2538 มีพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ นำมาใช้แทนพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู จึงได้เปลี่ยนชื่อวิทยาลัยครูบุรีรัมย์ เป็น“สถาบันราชภัฏบุรีรัมย์” ตำแหน่งอธิการเปลี่ยนเป็น “อธิการบดี” คณะวิชาเป็น “คณะ” หัวหน้าคณะวิชาเป็น “คณบดี” สามารถเปิดสอนได้ถึงระดับปริญญาเอก โดยยึดหลักปรัชญาว่า “เป็นสถาบันการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น”
สถาบันราชภัฏบุรีรัมย์ ได้ขยายฐานการศึกษาโดยเปิดโปรแกรมต่างๆ ซึ่งเป็นที่ต้องการและจำเป็นต่อการพัฒนาท้องถิ่น และได้เปิดสอนในระดับปริญญาโท ในสาขาวิชาบริหารการศึกษา ในปีการศึกษา 2541 ในปีการศึกษา 2542 ได้เปิดสอนเพิ่มอีกหนึ่งสาขา คือ สังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา ปีการศึกษาต่อมาได้เปิดอีกหลายสาขา ได้แก่ สาขาหลักสูตรและการสอน สาขาบริหารธุรกิจ สาขาวิจัยและการพัฒนาท้องถิ่น และสาขารัฐประศาสนศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
ในปี พ.ศ. 2547 มีพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ เพื่อมาใช้แทนพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จึงมีฐานะเป็น “นิติบุคคล” ทำให้การดำเนินการตามภารกิจมีความคล่องตัวมากขึ้น มีสภามหาวิทยาลัย สภาวิชาการ สภาส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยและสภาคณาจารย์และข้าราชการพลเรือนเกิดขึ้น การแบ่งส่วนราชการของมหาวิทยาลัย ประกอบด้วย คณะครุศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาการจัดการ สานักงานอธิการบดี สถาบันวิจัยและพัฒนา สานักศิลปะและวัฒนธรรม สานักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ และสำนักส่งเสริมวิชาการและ งานทะเบียน และโครงการจัดตั้งคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเป็นหน่วยงานภายใน
นอกจากนั้น มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ได้ดำเนินการขอใช้ที่ดินสาธารณประโยชน์โคกหนองขวาง ตำบลพรสาราญ ซึ่งเป็นพื้นที่ถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสาหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ในท้องที่ตำบลพรสาราญ อำเภอคูเมือง จานวน 519 ไร่ 64.6 ตารางวา โดยได้รับอนุญาตให้ใช้พื้นที่ดังกล่าวตามพระราชกฤษฎีกา ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2531 และต่อมายังได้ดาเนินการ ขอใช้พื้นที่ราชพัสดุบริเวณตำบลปะคา และตำบล หูทำนบ อำเภอปะคา จำนวน 1,834 ไร่ 1 งาน 43 ตารางวา (เดิมอยู่ในความดูแลของสถานีวิจัยและทดสอบพันธุ์สัตว์บุรีรัมย์ กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์) โดยได้รับอนุญาตให้ใช้พื้นที่ดังกล่าวเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2548 ซึ่งมหาวิทยาลัยได้ดำเนินโครงการพัฒนาพื้นที่ทั้ง 2 แห่ง เพื่อจัดสร้างเป็นศูนย์อุดมศึกษา โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อกระจายโอกาสทางการศึกษาไปสู่ท้องถิ่นตามปรัชญาของมหาวิทยาลัย
ปัจจุบันเปิดสอนทั้งหมด 7 คณะวิชา 1 บัณฑิตวิทยาลัย คณะครุศาสตร์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม คณะเทคโนโลยีการเกษตร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ คณะพยาบาลศาสตร์ และบัณฑิตวิทยาลัย
ขอบคุณข้อมูล ที่มา : https://www.bru.ac.th/history-th/ ที่มา : หอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์